Business [ -42- ] เราไม่จำเป็นต้องแก้ทุกปัญหา แต่เราจำเป็นต้องรับรู้ทุกปัญหาเพื่อตัดสินใจ

date_range 13 ก.พ. 2023
visibility 134 views

 

เราไม่จำเป็นต้องแก้ทุกปัญหา แต่เราจำเป็นต้องรับรู้ทุกปัญหาเพื่อตัดสินใจ

___________________________________________

ในการบริหารธุรกิจจะมีงานหลายส่วนเลย โดยพนักงานก็จะมีหน้าที่ของตัวเองอยู่แล้ว แต่สำหรับเจ้าของ หรือหัวหน้าส่วนมากจะไม่ใช่งานที่ต้องลงไปทำเอง แต่เป็นการควบคุมการทำงาน การรับรู้ปัญหา ภาพรวม รวมถึงตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ แล้วจำเป็นต้องไปแก้ทุกปัญหา หรือเปล่า? ตอบได้ว่า ‘ไม่จำเป็น’ เพราะพนักงานที่ทำงาน ย่อมมีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับหนึ่ง แต่หัวหน้าควรรับรู้ด้วย แต่ไม่ต้องลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเองทั้งหมดก็ได้ ยกเว้นปัญหาที่ต้องถึงมือจริง ๆ และต้องมีความรับผิดชอบที่ค่อนข้างสูง

จึงจำเป็นต้องรับรู้ปัญหาทุกอย่าง โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับ ยอดขาย ต้นทุน พนักงาน ลูกค้า หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับส่วนงานที่รับผิดชอบ เพราะเมื่อเกิดปัญหาหัวหน้าไม่สามารถพูดได้ว่า ‘ไม่รู้’ ต้องรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ปัญหา รับรู้วิธีการแก้ปัญหา และถ้าหากจำเป็นก็ต้องแก้ปัญหาบางอย่างด้วยตัวเอง นอกจากนี้ การตัดสินใจอย่างรวดเร็วอาจจะไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะวิธีการแก้ปัญหาจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างพิถีพิถันภายใต้สถานการณ์ที่มีอยู่ (ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณ เวลา และทรัพยากรด้วย)

การแก้ปัญหา VS การตัดสินใจ

problem solving

การแก้ปัญหา เป็นกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อระบุแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ สำหรับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า ในขณะที่การตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา อธิบายง่าย ๆ คือ การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และต้องมีการตัดสินใจ ดังนั้น การตัดสินใจจึงเป็นการเลือกที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมีเหตุผล เป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำและหัวหน้า

การแก้ปัญหาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจอย่างไร?

การตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหา บางธุรกิจอาจมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรทั้งหมดในการแก้ไขปัญหา ซึ่งบทบาทสำคัญในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารและผู้นำ ก็คือการตัดสินใจว่าปัญหาใดที่จะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

การแก้ปัญหาและการตัดสินใจแตกต่างกันอย่างไร?

problem solving

การแก้ปัญหาและการตัดสินใจไม่ได้มีความหมายเหมือนกัน แต่ทั้งสองสิ่งนี้เป็นทักษะสำคัญที่ผู้นำ หรือหัวหน้าควรมี ซึ่งการแก้ปัญหาและการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึง การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการที่คุณตั้งคำถามกับข้อสันนิษฐานของตนเองและของผู้อื่น เพื่อตัดสินใจเลือกขั้นตอนในการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณมักส่งผลให้เกิดการใช้การวิจัย การวิเคราะห์ การตั้งคำถาม และการสำรวจความคิดใหม่ ๆ ผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่สมบูรณ์ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ และได้รับข้อมูลในลักษณะที่ไม่ถูกจำกัดมุมมองส่วนตัวของเพื่อนหรือสถานะที่เป็นอยู่

น่าสนใจ

RELATED NEWS